กรณีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้รับข้อสั่งการจาก นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ที่มีหนังสือสั่งให้ กฟผ. ระงับการดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างงานจ้างเหมาขุด-ขนถ่านหินที่เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สัญญาที่ 8/1 ในวงเงินงบประมาณ 7,250 ล้านบาท
และคณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ ดำเนินการพิจารณาตามคำร้อง ตามที่ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งได้ยื่นอุทธรณ์
ล่าสุด วันนี้( 27 ม.ค. 68) มีรายงานว่า คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ ได้พิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของ บริษัท อิตาเลียนไทยฯ อย่างละเอียดรอบคอบ โปร่งใส และเป็นธรรมแล้ว มีความเห็นว่า
ข้ออุทธรณ์ที่ 1 บริษัทอิตาเลียนไทยฯ ยื่นแบบแปลนเหมือง ณ สิ้นเดือน กุมภาพันธ์ 2571 ที่มีการขุดดินลึกลงไปที่ ระดับ +126 รทก. (ระดับน้ำทะเลปานกลาง) แทนที่จะเป็นที่ระดับ +203 รทก. ตามแปลนภาพพื้นที่เหมือง ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2571 ที่ กฟผ. กําหนดไว้ในเอกสารงานจ้าง และมีการวางแนวสายพานพาดผ่านในพื้นที่ทํางานของ สัญญา 9
ประกอบกับตาม TOR ของงานจัดจ้างนี้ กําหนดให้ผู้เสนอราคาต้องเสนอรายละเอียดชนิด ขนาด และ จํานวนเครื่องจักรกลทั้งหมด ที่จะนํามาใช้ในการทํางานให้เป็นไปตาม แบบแปลนที่ กฟผ. กําหนด
รวมทั้ง การที่บริษัท อิตาเลียนไทยฯ เสนอวางแนวสายพานอยู่ในพื้นที่สัญญา 9 ซึ่งเป็นพื้นที่ ภายใต้อีกสัญญาที่ บริษัท อิตาเลียนไทยฯ เป็นคู่สัญญากับ กฟผ. อยู่ ส่งผลให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในทางเทคนิค และส่งผลกระทบต่อราคาที่เสนอ ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อการ พิจารณาที่ต้องพิจารณาผู้เสนอราคาทุกรายบนพื้นฐานข้อเท็จจริง หรือ สมมติฐานที่เท่าเทียมกัน
ดังนั้น ข้ออุทธรณ์ ของบริษัท อิตาเลียนไทยฯ ในประเด็นนี้ จึงฟังไม่ขึ้น
ข้ออุทธรณ์ที่ 2 บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ยื่นเสนอต้นฉบับและสําเนาของรายงานผลการตรวจสอบสภาพเครื่องโม่ดิน ที่บริษัท มีความ แตกต่างกัน ซึ่งตาม TOR กําหนดว่า "กรณีเอกสารต้นฉบับ ขัดแย้งกับสําเนาให้ถือเอกสารต้นฉบับเป็นสําคัญ"
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ จึงยึดต้นฉบับในการพิจารณา ข้ออุทธรณ์ของบริษัทอิตาเลียนไทยฯ ในประเด็นนี้ จึงฟังไม่ขึ้น
ข้ออุทธรณ์ที่ 3 บริษัท อิตาเลียนไทยฯ ไม่ได้เสนอแผนการปรับปรุงสภาพ (Reconditioning) ของสายพานลําเลียงดิน และ เครื่องโปรยดินที่ผ่านการใช้งานแล้ว ดังนั้น ขออุทธรณ์ของ บริษัทอิตาเลียนไทยฯ ในประเด็นนี้ จึงฟังไม่ขึ้น
ทั้งนี้มีงานว่า หลังจากนี้ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะเสนอข้อวินิจฉัย ไปยังผู้ว่าการ กฟผ. เพื่อรายงานรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ต่อไป